เร็วเป็นเร็ว ช้าต้องช้า

เร็วเป็นเร็ว ช้าต้องช้า

เคล็ดที่ไม่ลับ ของการวิ่งให้ประสพความสำเร็จมีอยู่หลายประการในจำนวนนี้ มีอยู่ข้อหนึ่งที่น่าใส่ใจก็คือ

ดูว่าแชมป์คนอื่นเขาฝึกกันอย่างไร? จะเรียกว่า ?เลียนแบบ? ก็คงจะได้ตรงที่ถ้ามันทำได้แต่บางอย่าง

ก็ต้องเอามาปรับใช้ในกรณีที่มันเหมาะกับตัวเราเพราะเรา ?เลียนแบบ? ก็เพื่อที่จะให้วิ่งได้ดีขึ้น

ไม่ใช่ให้ ?เลียนแบบ? แล้วกลายเป็น ?เดี้ยง? แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร? ลองพยายามเอามาปรับใช้ดู

โปรแกรมฝึกของแชมป์ที่จะพูดถึงวันนี้เป็นแชมป์หญิงชาวอเมริกันจากเมืองสโนเคน วอชิงตัน

เธอชื่อ KIM JONES เธอเป็นนักวิ่งที่มีชื่อเสียงอยู่ในระหว่างปี 1986-1991 และเป็นนักวิ่งหญิงที่มีฝีเท้า

อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก เมื่อปี 1989 สถิติเต็มมาราธอนที่เธอเคยทำได้คือ 2:26:40 ในสนามบอสตัน

มาราธอนปี 1991 ทำให้ชื่อของเธอติดทำเนียบนักวิ่งระยะไกลหญิงที่มีฝีเท้าเป็นอันดับที่สาม

คิม โจนส์ มีเป้าหมายการฝึกที่โฟกัสความเข้มไปที่กุญแจสองดอก ที่จะพาเธอไปสู่ความสำเร็จในการวิ่ง

ระยะไกลนั่นคือ ความเร็ว และ ความอึด เธอเริ่มต้นโปรแกรมที่การยืดเส้นและอุ่นเครื่องที่นานมาก

โปรดสังเกตว่าการอุ่นเครื่องของเธอนานจริงๆราว 20-30 นาที หรือที่ความไกลราว 4 ไมล์ ซึ่งตรงนี้ผู้เขียน

เห็นว่า นักวิ่งบ้านเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการอุ่นเครื่องเหมือนเขา ติดตามต่อมาด้วยการวิ่ง

ที่มีความเร็วเท่ากับการแข่งระยะทาง 10 กม.วิ่งไปประมาณ 10 นาที ทั้งหมดสามเที่ยวครับและพักจ๊อกเบาๆ

ระหว่างเที่ยวนานสามนาที ให้วิ่งช้านะครับ เพื่อเป็นการพัก จะได้มีแรงอัดในเที่ยวต่อไป

ประมาณขนาดช้ากว่าความเร็วที่ใช้แข่งวิ่งเต็มมาราธอน ราว หนึ่งนาทีต่อกม.

คิม โจนส์ เล่าว่า เธอวิ่ง 5:35 นาที/ไมล์ ระหว่างการแข่งขันมาราธอน ดังนั้น เธอจึงวิ่งจ๊อกสลับในโปรแกรม

การฝึกครั้งนี้ที่ 6:35 นาที/ไมล์ เอาหล่ะครับ พอเสร็จ 3×10 นาที ที่ว่านี้ก็ให้เย็นเครื่องลงเท่ากับการอุ่น

ตอนต้นคือ ราว 20-30 นาทีนั่นแหละ จะเห็นได้ว่า ระยะเวลาการฝึกจะใช้จ่ายไปกับการอุ่นเครื่อง

และการเย็นลงไล่ๆกับการฝึกจริงๆ ลำพังการฝึกก็ไม่นานเท่าไร แต่ขอให้เข้มข้นเป็นไปตามสูตร

อย่าหย่อนลง การที่จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการอุ่นเครื่องถึงที่และการจ๊อกที่เบาสบับเป็นการพักฟื้น

จะต้องช้าจริงๆพวกเราส่วนมาก พอวิ่งช้าก็ช้าไม่จริงทำให้พอวิ่งเร็วก็เลยได้ไม่เร็วจริง เป็นงั้นไป

การฝึกแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายขับกรดแลคติค และมันจะถูกกำจัดไปด้วยการเย็นเครื่องนี่เอง

แต่การฝึกก็ไม่นานพอที่จะทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ อีกประการหนึ่ง มันเท่ากับเป็นการฝึก

ให้ร่างกายเป็นหนี้อากาศ เวลานักกีฬาหายใจไม่ทัน ก็ให้ซื่อสัตย์เข้าไว้ กัดฟันอย่าเพิ่งใจอ่อน

ก่อนเวลา 10 นาที ดังกล่าว เพราะในเหตุการณ์วันแข่งเราจะอ่อนลงไม่ได้เหมือนกัน ช่วงที่ทรมานนั้น

ขอให้รู้ว่า มันกำลังเป็นช่วงหัวกะทิ ที่ร่างกายเรากำลังจะได้อะไรๆชนิดที่เต็มเนื้อหาสาระ

จำไว้ว่า เร็วเป็นเร็ว อึดเป็นอึด ช้าเป็นช้า พักเป็นพัก สัปดาห์ละครั้งก็พอ

จงอย่าเอาทั้ง 4 อย่างมาชงใส่แก้วกวนให้เข้ากันแล้วดื่มเป็นอันขาดมันจะกลายเป็น

วอร์ม ก็ไม่ใช่วอร์ม เพราะเร็วกว่าวอร์ม

เร็ว ก็ไม่เร็ว เพราะอัดไม่ขึ้น

ช้า ก็ไม่ช้า เพราะใจอยากให้เร็ว

อึด ก็ไม่อึด เพราะไม่ยอมช้า

วนเวียนเป็นงูกินหาง โอเคครับลองเอาไปปรับใช้ดู …..

*** กฤตย์ ทองคง

ขอขอบคุณ อาจารย์ กฤตย์ ทองคง สำหรับบทความดี ๆ ครับ

0
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณได้นะครับx
X